Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเทียวจังหวัดอุบลราชธานี

1.สามพันโบก

"สามพันโบก"ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแก่งหินขนาดใหญ่
ในลำน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง(ประมาณเดือนมกราคม – เมษายน) ทั้งนี้ ที่เรียกว่า
"สามพันโบก"เพราะบนแก่งหินมีแอ่งน้ำขนาดเล็กใหญ่จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง
(คำว่า "โบก"เป็นภาษาลาว แปลว่า "แอ่ง") จึงเรียกที่นี่ว่า สามพันโบก
นอกจากนี้ ลักษณะของแก่งหินยังมีขนาดใหญ่มากคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขงความสวยงามวิจิตรของหิน
ที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่งมองเห็นเป็นภาพศิลปะ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใหญ่บ้างเล็กบ้างบ้าง
เป็นรูปวงรี รูปดาว รูปวงกลม และรูปอื่น ๆ อีกมากมายตามแต่ที่เราจะจินตนาการ เพราะมีมากกว่า 3,000 แอ่ง
"สามพันโบก" จึงได้ฉายาว่า"แกรนแคนย่อนเมืองไทย" ...ถ้าอยากรู้ว่าสวยงามแค่ไหนต้องลองไปพิสูจน์ด้วยตัวคุณเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือไปยังแก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านสองคอน
ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน "ปากบ้อง"
จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขงซึ่งมีความกว้างเพียง 56 เมตร และ "หินหัวพะเนียง"เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่
ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ "บ้านสองคอน"
และในบริเวณใกล้เคียงกันนั้น ยังมี "ถ้ำ" ที่มีความสวยงามมาก คือถ้ำนางเข็นฝ้าย, ถ้ำนางต่ำหูก, หาดหงษ์,
หาดหินสี, หลักศิลาเลข,แก่งสองคอน, ภูเขาหิน และหาดแห่โดยมีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักอย่างสะดวกสบายริมหาดสลึงพร้อมร้านอาหารไทยและอีสานมากมาย

ที่อยู่:

2.เขื่อนสิรินธร

“เขื่อนสิรินธร”  เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวซึ่งสร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูลเมื่อปี พ.ศ. 2514
มีจุดมุ่งหมายในการสร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าและเป็นแหล่งน้ำในการชลประทาน นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่
พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงรวมถึงทั้งนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางผ่านไปมาเพื่อที่จะท่องเที่ยว
ระหว่างตัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี – ย่านอุทยานแห่งชาติผาแต้มอีกด้วย
การเดินทางมาท่องเที่ยวเขื่อนโดยส่วนใหญ่ทั่วๆไปนั้นไม่มีสาระสำคัญอะไรมากไปกว่าการมาชมทัศนีย์ภาพเหนือ
สันเขื่อน ,รับประทานปลาสดจากร้านอาหารสวัสดิการ ,ล่องเรือเที่ยว ,ตีกอล์ฟ,ถ่ายรูปหรือนั่งนอนหย่อนอารมณ์ภายในสวนหย่อมซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม หากเขื่อนบางแห่งมีที่พักแบบเรือนแพไว้คอยให้บริการ การเลือกนอนพักสบายๆ
ในแพที่พักริมน้ำก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่เลวเช่นกัน (ภายใน “เขื่อนสิรินธร” ไม่มีแพพักไว้คอยให้บริการ
หากต้องการพักแพริมน้ำต้องลองสอบถามแถวๆ “หาดพัทยา สิรินธร” ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเขื่อนออกไปอีกไม่ไกลเท่าไหร่ดู
แต่จากการสำรวจของทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมคิดว่าบริเวณ “หาดพัทยา สิรินธร” นั้นก็อาจไม่มีเรือนแพสภาพดีที่พอพักค้างคืนได้สักเท่าไหร่นักอยู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นเรือนแพร้างที่ไม่มีคนเฝ้าครับ) ใครที่ชอบการท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวข้างต้น การเดินทางมาท่องเที่ยวยัง “เขื่อนสิรินธร” ก็คงไม่ทำให้คุณรู้สึกว่าเสียเที่ยวหรือสิ้นเปลืองเวลาสักเท่าไหร่นัก
ภายใน “เขื่อนสิรินธร” นั้นนอกจากจะมีทัศนีย์ภาพของทะเลสาบเหนือสันเขื่อนที่สวยงามแล้วยังมี “สวนสิรินธร”
อันเป็นที่ตั้งของประติมากรรมช้างสามเชือกตีระนาด สีซอและเป่าขลุ่ย ซึ่งเครื่องดนตรีทั้งสามชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงโปรดปราน และสวนนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธสิริสัตตราช” (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ “น้ำแห่งเขื่อน” ที่ทาง กฟผ.ได้รับอนุญาตให้สร้างจำลอง
ไว้ตามเขื่อนต่างๆที่อยู่ภายใต้การดูแลอีกด้วย (นอกจากที่ “เขื่อนสิรินธร” แล้ว “พระพุทธสิริสัตราช” นั้นยังถูกสร้างจำลองประดิษฐานไว้ ณ เขื่อนอื่นๆอีก เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น) บรรยากาศภายใน “สวนสิรินธร” ร่มรื่นชื่นเย็นไปด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ มีม้านั่งหินไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนั่งพักผ่อนหย่อนใจ
บริเวณริมทะเลสาบใกล้กับอาคารร้านอาหารสวัสดิการมีศาลาริมน้ำขนาดใหญ่ที่คุณสามารถไปยืนชมทิวทัศน์ริมน้ำ
ได้ใกล้ๆ เดินต่อจากบริเวณดังกล่าวไปทางลานจอดรถไม่ไกลจะพบกับสวนหย่อมเล็กๆอีกแห่งหนึ่งและต้น “ย่านดาโอ๊ะ”
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ต้นไม้สีทอง” ปกติแล้วพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งจะขึ้นอยู่บริเวณ “น้ำตกปาโจ”
ในอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ใบมีสีน้ำตาลแดงแกมทอง มีขนคล้ายกำมะหยี่
รูปร่างของใบมีลักษณะคล้ายใบกาหลง ใบชงโค และใบโยทกา ออกดอกทั้งปี ลักษณะดอกมีสีขาวรวมกลุ่ม
เป็นช่อกระจายตามปลายกิ่ง หากคุณๆ ท่านๆ ทั้งหลายเคยไปเดินตามงาน OTOP ประจำปีจะสังเกตเห็นว่ามีร้านค้า
บางร้านนำใบของต้นย่านดาโอ๊ะมาเคลือบใส่กรอบจำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึกในฐานะของ “ใบไม้นำโชค”
ใครอยากเห็นต้น ดอกและใบเป็นๆของต้นไม้สีทองลองมาดูได้ ณ “เขื่อนสิรินธร” จ.อุบลราชธานี แทนที่จะต้องไปไกลถึง จ.นราธิวาส
หลังจากเดินเที่ยวพอได้เหงื่อแล้วหากยังพอมีเวลาอาจมานั่งละเลียดอาหารบริเวณร้านสวัสดิการริมทะเลสาบ บรรยากาศในร้านเย็นสบาย มีลมจากผืนน้ำพัดเข้าสู่แผ่นดินผ่านตัวร้านอยู่ตลอดเวลา ทัศนีย์ภาพมองจากด้านในร้านอาหารออกไปยังภายนอกสวยงามยิ่ง “เขื่อนสิรินธร” มีบ้านพักรับรองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่ริมทะเลสาบและมีสนามกอล์ฟไว้คอยให้บริการ ใครต้องการหาที่พักค้างแรมใกล้ๆกับตลาดชายแดนช่องเม็กทีมงานของเราแนะนำว่าการเลือกพัก ณ บ้านพักรับรองของ “เขื่อนสิรินธร” ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีทาง
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ออกจากตัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี (ด้านสะพานเสรีประชาธิปไตย)
มุ่งไปทาง อ.วารินชำราบ จาก อ.วารินชำราบใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึง อ.สิรินธร ทางเข้า “เขื่อนสิรินธร” จะอยู่ด้านขวามือบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เลยจากตัว อ.สิรินธรไปไม่ไกล
(ก่อนถึง อ.สิรินธร จะเห็น “หาดพัทยา สิรินธร” กว้างไกลสุดลูกหูลูกตาด้านขวามือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 สามารถแวะพักผ่อนก่อนเข้าตัวเมืองได้ครับ)
โทรศัพท์ : 045-366-085 , 045-366-081-3

ที่อยู่:ตำบลช่องเม๊ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

3.จุดชมวิวแม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี อีกหนึ่งสถานที่น่าท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏการของแม่น้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกัน
เกิดการเปรียบต่างสีน้ำของแม่น้ำ ทั้งสองสาย คือ แม่น้ำมูลที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหน้าน้ำหลาก
จะเห็นแม่น้ำทั้งสองสายที่ไหลมาบรรจบกันเป็นสองสีอยู่คนฝากฝั่ง อย่างชัดเจน ผู้คนพากันเรียกว่า “โขงสีปูน มูลสีคราม” นอกจากชมความอัศจรรย์ของแม่น้ำสองสีแล้ว ยังสามารถล่องเรือไปตามลำน้ำมูล และลำน้ำโขง เพื่อชมทัศนียภาพ
ของธรรมชาติ และผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ริมสองแม่น้ำทั้งสองฝากฝั่ง แม่น้ำสองสี “โขงสีปูน มูลสีคราม”
ปรากฏการแม่น้ำไหล รวมกันเป็น สองสีเกิดขึ้นในบริเวณ ดอนด่านปากแม่น้ำมูล บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม
อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยแม่น้ำมูลที่มีสีออกสีคราม จะไหล ไปรวมกับแม่น้ำโขงที่สีออกจะขุ่นๆเป็นสีปูน เกิดเป็นแม่น้ำโขงที่มีสีของน้ำสองสี ก่อนจะค่อยๆรวมกันและเป็นสีเดียวกัน จุดที่สามารถชม แม่น้ำสองสีได้
คือบริเวณ ลาดริมตลิ่งหน้าวัดโขงเจียม และที่หมู่บ้านห้วยหมาก โดยสามารถนั่งเรือไปได้ โดยจอดรถไว้ที่บริเวณท่าเรือแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม แล้วนั่งเรือไปชมความสวยงามของ แม่น้ำสองสี จากจุดชมวิวทั้งสองจุด นอกจากชมแม่น้ำสองสี แล้วยังมีสถานที่น่าสนใจในบริเวณนี้อย่าง ร้านอาหารที่ ทำจากปลาสดๆที่จับได้จาก แม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงหรือจะข้ามไปเที่ยวตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว เที่ยวตลาดยามเช้าในอำเภอโขมเจียม ไปชมเขื่อนปากมูล น้ำตกและถ้ำเหวสินธุ์ชัย วัดถ้ำคูหาสวรรค์
และท่าปลาริมโขง
การเดินทางเริ่มต้นเดินทางกันจากอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางไปทางทิศตะวันออก
มุ่งหน้าสู่อำเภอโขมเจียม ใช้เส้นทางหมายเลข 2222 ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมายเลข 2137 อีกประมาณ 1 กิโลเมตรกว่าๆ แล้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ อำเภอโขมเจียม อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
จนไปถึงดอนด่านปากแม่น้ำมูล บ้านเวินบึก ก็เป็นอันถึงที่หมาย

ที่อยู่: บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

4.พัทยาน้อย สิรินธร

พัทยาน้อย หรือทะเลอีสานใต้ ตั้งอยู่ ณ บริเวณชายหาดอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ต.คันไร่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 60 กิโลเมตร ที่นี้มีความสวยงามเหมือนกับทะเลทุกอย่าง ต่างกันแค่เพียง
เป็นน้ำจืดไม่ใช่น้ำเค็มดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น สภาพแวดล้อมถูกตกแต่งด้วยเม็ดทรายละเอียด บริเวณโดยรอบมีการปลูกต้นปาล์มแซมกับต้นมะพร้าว และปลูกต้นทานตะวันตามพื้นที่ชายหาด บรรยากาศโดยรอบจึงคล้ายคลึงกับหาดทรายริมทะเล นักท่องเที่ยวที่มาที่นี้จะรู้สึกเหมือนไปได้เที่ยวทะเลจริงๆ มีเสียงคลื่นกระทบฝั่ง เสียงสายลมพัดไหวยอดต้นมะพร้าว ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากทะเลเลย และที่นี้ยังมีเครื่องเล่นต่างไว้คอยบริการ ทั้ง บานาน่าโบ๊ท เจ็ตสกี
และห่วงยาง เมื่อเล่นน้ำจนเหนื่อยอยากหาอะไรรับประทาน บริเวณชายหาดก็มีแพร้านอาหารตั้งเรียงรายให้ทานเข้ารับประทานกันให้อร่อย
ทะเลอีสานใต้ หรือพัทยาน้อย เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของภาคอีสานที่มีความมหัศจรรย์รอให้ทุกท่านได้สัมผัส อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นที่นี้คือทะเล ที่ไม่ใช่แค่เพียงเป็นน้ำจืดเท่านั้น ที่เหลือทุกอย่างเหมือนกับทะเลจริงๆ ท่านใดที่ยังไม่เคยมาเที่ยวที่นี้ถ้ามาแล้วท่านจะติดใจในความสวยงาม

ที่อยู่:ตำบล คันไร่ อำเภอ สิรินธร อุบลราชธานี 34350

5.หาดชมดาว

หาดชมดาว หรือ แก่งชมดาว อยู่ในบริเวณหมู่บ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานีอยู่ก่อนถึงสามพันโบก
ประมาณ  20 ก.ม. หาดชมดาวเป็นแนวหาดหิน แก่งหิน อันกว้างใหญ่และยาวมากหลายร้อยเมตร  ซึ่งการเกิด
ของหินรูปพรรณสัณฐานประหลาด เช่นเดียว กับสามพันโบก ซึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินเหล่านี้จะจมอยู่ใต้
แม่น้ำโขงและด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่ จำนวนมาก เกิดเป็นประติมากรรมหิน-
ธรรมชาติรูปร่างแปลกตาชวนให้จินตนาการ  หาดชมดาวมีลักษณะคล้ายกับสามพันโบกแต่ มีพื้นที่ กว้างกว่า
รวมถึงมีริ้วลายหินและรูปทรงแปลกๆให้เห็นชมเยอะกว่า บางพื้นที่เป็นรูเว้าแหว่ง บางพื้นที่ก็ซ้อนกันเป็นชั้น 
บางพื้นที่เป็นดิน แห้งระแหง มีแอ่งน้ำน้อยใหญ่ บางแอ่งใหญ่บางแอ่งเล็ก มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป 
หาดชมดาวมีจุดไฮไลต์ที่ สวยที่สุด ซึ่งเป็นลักษณะเป็นผาหินสูงใหญ่และเว้าแหว่งยาวคล้ายช่องแคบมีสายน้ำไหล
ผ่าน และมีก้อนหินเล็กกลางน้ำให้ลงไปยืนโพสต์ท่าถ่ายรูป ซึ่งได้มุมสวยเก๋ไม่เหมือนใคร  ช่วงเวลาที่เหมาะสมมี 2 ช่วง
คือ เช้าและบ่ายไม่แนะนำให้มาเที่ยงเพราะจะร้อนมาก หากอยากชม พระอาทิตย์ขึ้นก็มาในช่วงเช้าก่อน 8 โมง 
เพราะหลังจากเวลานั้นไปแดดจ้ามาก เพราะอุบลเป็นจังหวัดที่พระอาทิตย์ขึ้นเร็วมาก ตีห้าครึ่ง พระอาทิตย์เริ่มมาแล้ว และอีกหนึ่งช่วงคือ ช่วงบ่ายตั้งแต่ประมาณ 4 โมง เย็น ทั้งนี้ต้องเผื่อเวลาเดินอีกประมาณครึ่งชั่วโมงด้วยค่ะ  ส่
วนช่วงเวลาที่เหมาะจะมาเที่ยวนั่นก็คือ ตั้งแต่ พ.ย. –พ.ค.
คำแนะนำ หาดชมดาวมีพื้นที่ค่อนข้างกว้างมากกว่าสามพันโบก เมื่อมาถึงศาลาซึ่งเป็นจุดจอดรถต้องเดินไปอีกเกือบ 
1 ก.ม.จึงจะไปถึง จุดไฮไลต์หรือแม้แต่ลวดลายหินสวยๆในบริเวณอื่น ซึ่งจะแตกต่างกับสามพันโบกที่เดินไปนิดเดียวก็ถึงแก่ง สำคัญที่สุดหากยังไม่เคย มาเที่ยว ให้ขอไกด์นำทางมาด้วยสามารถติดต่อจากที่พักก็ได้ ไม่แนะนำให้เดินหาเองเพราะจุดไฮไลต์จะหาเจอยากมากไม่มีป้ายบอก ชัดเจนถ้าไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่อาจหลงทางไปไกลและควรเตรียมน้ำดื่มมาให้พร้อม
การเดินทางไปหาดชมดาว
จากอุบลฯใช้เส้นทางเดียวกับทางไปสามพันโบก แต่หาดชมดาวจะถึงก่อน  การเดินทางไปหาดชมดาวจากเมืองอุบลราชธานี ใช้เส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ถึงทางแยกที่ทางหลวงหมายเลข 2337 มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นทางแยกโขงเจียม-เขมราฐ ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่ หาดชมดาว มีป้ายบอกชัดเจนเป็นทางลูกรังประมาณ 2 กิโลเมตร
ที่อยู่:หมู่บ้านโนนตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี 34170

6.ถนนคนเดินเขมราฐ

รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำโขง
นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศสบายสโลล์ไลฟ์ ด้วยความที่เป็นเมืองเก่าตึกสองข้างของถนนคนเดินยังอนุรักษ์
ไว้อย่างดีเยี่ยม ได้บรรยากาศย้อนยุคที่อบอุ่นตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ นอกจากนี้การออกร้านขายของยังเน้น
ของพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน ของฝากที่ระลึกต่างๆ มีการแสดงศิลปะ ดนตรี รวมทั้งการจัดนิทรรศการภาพเก่าแก่
ของอำเภอเขมราฐ ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้นอกจากจะต้องเดินทางมาที่นี่เท่านั้น โดยกำหนดจัดงานถนนคนเดินเพียง
อาทิตย์ละ 1 วัน คือวันเสาร์ ถ้าหากได้มาเที่ยวซักครั้งจะประทับใจอย่างแน่นอนและท่านจะอยากกลับมาเที่ยวอีกครั้ง ลักษณะเด่น
เป็นถนนสายวัฒนธรรมซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมโดยการนุ่งซิ่นหรือชุดพื้นเมืองมาเดินถนนจะได้บรรยากาศ
เป็นอย่างมากมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การแสดงชุดพื้นบ้านออกมารำโชว์ และจะมีนางรำซึ่งเป็นคนในชุมชน
มาฟ้อนรำอยู่กลางถนนคนเดิน บรรยากาศคึกครื้นสนุกสนาน และรักษาเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยว
สามารถร่วมฟ้อนรำร่วมหรือถ่ายภาพร่วมกับนางรำได้อย่างเป็นกันเอง มีมุมถ่ายรูปบ้านเก่าแก่ในอดีต โรงแรมสุขสงวน โรงแรมแห่งแรกของอำเภอเขมราฐ
ประวัติ
ตลาดถนนคนเดิน เขมราษฎร์ธานี เริ่มต้นจัดงานปฐมฤกษ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556 ด้วยกลุ่มฮักนะเขมราฐ
และผู้บริหารเทศบาลตำบลเขมราฐ โดยนางลัดดา เจษฎาพานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลเขมราฐ มีแนวความคิด
ที่จะพัฒนาบ้านเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ที่เคยคึกคักในอดีต ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในบรรยากาศย้อนยุค

ที่อยู่ ถนนคนเดินเขมราฐ ถนนวิศิษฐ์ศรี ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี 34170

เบอร์ติดต่อ 045 491 689

7.ขัวน้อย

รายละเอียดขัวน้อย
บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นขัวที่ใช้สัญจรไปมา ระหว่าง หมู่ที่ ๑ บ้านชีทวน
และหมู่ที่ ๗ บ้านหนองแคน จากการสอบถามผู้รู้ในชุมชน สันนิษฐานว่า มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปีที่แล้ว มีความกว้าง ๑.๔๐ เมตร ความยาว ๒๗๑.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร
ลักษณะเด่น
สะพานข้ามทุ่ง-ขัวน้อย เป็นสะพานที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างเพื่อให้พระสงฆ์ได้เดินข้ามมาบิณฑบาตได้สะดวก
เชื่อมต่อระหว่างสองหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านชีทวน และ หมู่บ้านหนองแคน มีอายุ 100 กว่าปีแล้ว ทอดตัวยาวผ่าน
กลางทุ่งนาสีเขียวขจี และเหลืองอร่ามในช่วงฤดูทำนา-เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในฤดูทำนา (ช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน)
จะเป็นช่วงที่สวยน่ามาเที่ยวที่สุด
ประวัติ
ขัวน้อยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านในการก่อสร้าง เนื่องจากในอดีต การสัญจรไปมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก กอปรกับ ในอดีต วัดสีทาส เป็นวัดที่เปิดทำการเรียนการสอนปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
ซึ่งพระที่มาเรียนมีจำนวนมาก บ้านหนองแคนเป็นบ้านขนาดเล็ก มีบ้านอยู่จำนวนไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านมีกำลังในการทำบุญตักบาตรไม่เพียงพอกับจำนวนพระ จึงมีการข้ามมาบิณฑบาตที่บ้านชีทวน ซึ่งเป็นบ้านใหญ่ แต่เนื่องจากเส้นทาง ที่ใช้ในการออกบิณฑบาตเส้นทางเดิม ไปมาลำบาก เวลาหน้าฝนพื้นดินมักเป็นโคลนเลน (เหมืองโผ่) หน้าแล้งมีแต่ดินทราย ทำให้การไปมาลำบากมาก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างขัวน้อยขึ้น เพื่อความสะดวก โดยพื้นที่ที่สร้างเป็นเขตต่อกันระหว่างหนองใหญ่กับหนองผักบุ้ง โดยสร้างตามแนวเขตติดต่อโดยสร้างคร่อมคันนาเดิม วัสดุที่ใช้สร้างส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านหามาได้ เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ประดู่ เพื่อใช้เป็นเสาและคาน ส่วนไม้แป้นปู (กระดานปู) ไม้ที่ได้ส่วนใหญ่มาจากเรือกระแซงเก่าที่พังไม่ได้ใช้ บ้างก็ได้จากการถากไม้ นำมารวมกันช่วยกันสร้าง จนแล้วเสร็จ โดยนอกจากการ ใช้ในการออกบิณฑบาตแล้ว ยังใช้เป็นเส้นทางในการนำศพไปประกอบพิธีฌาปนกิจศพ ที่ป่าช้าหัวหนองจอก
บ้านหนองแคน เวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนเพ็ญ ยังใช้เป็นที่สถานที่พักผ่อน ในเวลากลางวันก็ใช้เป็นร่มในการทำนา ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมาก ขัวน้อยมีการซ่อมแซมทุกปี ต่อมาเมื่อประมาณปี ๒๕๓๔ ท่านพระครูสุนทรสุตกิจ
(หลวงพ่อมณี เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไล) คุณยายเทวี ทองขาว และชาวบ้านจึงได้จัดทำผ้าป่าสามัคคีขึ้น เพื่อซ่อมแซมบูรณะขัวน้อย เนื่องจากขัวน้อยมีสภาพทรุดโทรมอย่างมาก ประกอบกับไม้ ในการซ่อมแซมเริ่มหายาก จึงได้ก่อสร้างขัวน้อยขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นคอนกรีต ทำการก่อสร้างโดย ช่างไสว เชื้อประทุม เป็นหัวหน้าช่าง พร้อมด้วยทีมช่างประมาณ ๒๐ คน โดยยึดเอาแนวขัวเดิมเป็นหลัก และได้สร้างศาลากลางขัวเพิ่มเติมขึ้น ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
ปัจจุบันขัวน้อย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในตำบลชีทวน ช่วงที่น่าท่องเที่ยว คือช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม เพราะเป็นช่วงหน้าทำนาและช่วงข้าวออกรวง ทัศนียภาพจะสวยงามมาก
ที่อยู่ ขัวน้อยบ้านชีทวน ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150
เบอร์ติดต่อ 045232089

8.เขื่อนปากมูล

รายละเอียด
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร
อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตร และผลิตกระแสไฟฟ้า สันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจาก อ.โขงเจียม ไป อ.สิรินธรได้ โดยไม่ต้องย้อนไป อ.พิบูลมังสาหาร นอกจากนี้ บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำมูล
ที่งดงามโดยตลอด ไปบรรจบกับแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี
ลักษณะเด่น -เขื่อนสันแม่น้ำมูล -วิวสวย
ประวัติ
เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนในจังหวัดอุบลราชธานีกั้นแม่น้ำมูล อยู่ห่างจากลำน้ำมูลและน้ำโขงไปทางตะวันตกประมาณ
5.5 กิโลเมตร ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก โดยมีค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2537
ในเมื่อ 2510 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ หรือปัจจุบันคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) มีดำริที่จะพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งนี้ โดยได้รับความร่วมจากรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจและศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง
และกำหนดที่ตั้งตัวเขื่อนไว้ที่บริเวณแก่งตะนะ ซึ่งห่างจากปากแม่น้ำขึ้นมา 4 กิโลเมตร
เมื่อปี 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ได้รับโครงการนี้ไปดำเนินการต่อ และได้ศึกษาเพิ่มเติมก็รู้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคุ้มค่า แต่ผลดระทบที่สำคัญของโครงการนี้คือ การโยกย้ายที่อยู่ของประชากรในแถบนั้นถึง
4,000 หลังคาเรือน ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้ก่อน
ในปี 2528 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการทบทวนโครงการอีกครั้ง โดยย้ายที่ตั้งตัวเขื่อนมาทางเหนือน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร และลดระดับการกักเก็บน้ำลง เพื่อให้ประชากรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และผลสรุปในปี 2532 มีประชากรได้รับผลกระทบรวม 903 ราย เป็นผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนรวม 248 หลังคาเรือน ซึ่งลดลงจากปี 2522 เป็นอย่างมาก
ในภาคอีสานนั้นต้องรับไฟจากส่วนกลาง และต้องซื้อจากการไฟฟ้าของลาวด้วย ทำให้ระบบของภาคอีสานไม่มั่งคง
และฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าในภาคอีสานขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับโรงไฟฟ้าของภาค
โครงการนี้จัดอยู่ในแผนการพัฒนาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2340) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลที่
จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2533 และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2537 ตามกำหนดการที่ตั้งไว้
ที่อยู่: บ้านหัวเห่ว ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220

9.ทุ่งศรีเมือง

รายละเอียด
ทุ่งศรีเมืองตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม
เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ภายในทุ่งศรีเมือง มีปฏิมากรรมจำลองเทียนพรรษาแกะสลักที่งดงาม สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองมีสถานที่น่าสนใจที่สำคัญคือ ศาลหลักเมือง,อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง),ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระและอนุสาวรีย์แห่งความดี เป็นอนุสาวรีย์ที่เชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตา ปราณีและคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลราชธานี นอกจากนี้ทุ่งศรีเมืองยังถูกใช้เป็นพื้นที่ในการจัดเทศกาลที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี คือ เทศกาลแห่เทียนพรรษา ลักษณะเด่น -สนามหญ้ากลางเมืองเป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง
-ภายในทุ่งศรีเมืองมีปฏิมากรรมจำลองแกะสลักสวยงาม -ใช้เป็นที่ออกกำลังกายของชาวอุบลฯ รวมถึงลานกีฬา
-สิ่งที่น่าสนใจของทุ่งศรีเมือง คือ มีศาลหลักเมืองวางอยู่ทิศใต้ของสนาม
ประวัติ เดิมชื่อ "นาทุ่งศรีเมือง" เป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต คือ เป็นสถานที่ทำนาของเจ้าเมืองอุบลราชธานี และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ของเจ้าเมือง
ที่อยู่ : ทุ่งศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000

10.หาดคูเดื่อ

รายละเอียด
หาดคูเดื่อ เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ที่ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณหาดคูเดื่อมีแพร้านอาหารตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชาว-
เมืองอุบลฯ และนักทัศนาจรต่างถิ่นนิยมเดินทางมาสังสรรค์ เพราะนอกจากอาหารที่นี่จะสดใหม่ รสชาติอร่อย
มีให้เลือกมากมายแล้ว ทัศนียภาพโดยรอบยังสวยงามน่าชม โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำมูล
จะลดลงจนเผยให้เห็นหาดทรายสีส้มทอดยาวตลอดริมฝั่ง นอกจากการรับประทานอาหารซึ่งเป็นกิจกรรมหลักแล้ว
ที่หาดคูเดื่อยังมีจุดสำหรับลงเล่นน้ำคลายร้อน รวมถึงมีบริการเช่าเรือปั่นนั่งเป็นคู่ ล่องไปตามลำน้ำมูลเพื่อชม
ทัศนียภาพริมสองฝั่งด้วย
ลักษณะเด่น-รับประทานอาหาร -พักผ่อน -เล่นน้ำ-
ที่อยู่ บ้านคูเดื่อ ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
เบอร์ติดต่อ 083-3789789

 


Free Web Hosting