Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเทียวจังหวัดอุบลราชธานี

1.วัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว)

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่ อำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศบริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะ
สำหรับการมาชมและถ่ายภาพคือ ตั้งแต่เวลา6.00.19.30 น. ซึ่งหากโชคดีก็จะได้เห็นดวงดาวมากมายเต็มท้องฟ้า
อีกด้วย แต่ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่าย ด้วยกล้องถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวบางท่านที่มาเก็บภาพความงดงามผ่านสายตาต้องเผื่อใจไว้เล็กน้อยนอกจากความมหัศจรรย์ของพระอุโบสถแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์ซึ่งเป็นวิวลำน้ำโขง และบริเวณด้านหลังพระอุโบสถเป็นจุดชม วิวทิวทัศน์ของฝั่งประเทศลาวและมองเห็นด่านสากล
ช่องเม็กอย่างสวยงามรวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่อยู่บริเวณเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาป โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์
ตกดินเราเราจะได้เห็นพระอาทิตย์ดวงโตซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก สำหรับต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง เป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเองโดยมีแรงบันดาล ใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือ สารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ ในตอนกลางวัน พร้อมกับที่ศิลปกรรมชิ้นนี้ ได้หันหน้า
ไปทางทิศตะวันออก หรือหันข้างไปทางทิศตะวันตก ก็เลยเหมือนเป็นฉากกั้น พลังงาน ในช่วงเวลาตอนกลางวัน
แล้วจะฉายแสงออกมาในตอนกลางคืน คือเป็นการคายพลังงานออกมา ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจาก วัดเชียงทอง
ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ ส่วนตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า2เท่าเสาแต่ละต้นลง ลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลาย ตามคติบัว 4 เหล่า หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนอ งานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ งานแต่ละชิ้นต้องคิดจากความคิดอันวิจิตรและขบคิดมาก่อนทั้งสิ้นอย่างแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุตรงกลางของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของพระประธานแต่เดิมที่คล้ายกับพระพุทธชินราช ในจังหวัดพิษณุโลก แต่มีการนำเพียงส่วนรัศมีออกไป เพื่อให้แลดูกลมกลืนกันยิ่งขึ้น พร้อมกับได้ทำฉากหลังเป็นต้นโพธิ์ โดยเบื้องบนติดด้วยแผ่นพระทองส่วนการสร้างวัดนั้น ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไทและได้ปักกลด ที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการอ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่าวัดสิรินธรวราราม
หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม
หลังจาก พระครูกมลละสังขารไปในปี 2549พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องาน
สร้างวัดต่อไป อย่างต้นกัลปพฤกษ์ เรืองแสงเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ส่วนพระอุโบสถยังมีการแต่งเติมอยู่เรื่อยๆ

ที่อยู่: ตำบล ช่องเม็ก อำเภอ สิรินธร อุบลราชธานี 34350

2.วัดพระธาตุหนองบัว

วัดพระธาตุหนองบัว หรือวัดหนองบัว เป็นวัดราษฎร์ นิกายธรรมยุต ตั้งอยู่บนถนนธรรมวิถี ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติเล่าว่า นายฟอง สิทธิธรรม ได้มอบที่ดิน 50 ไร่ ไว้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2498 ในการสร้างวัดเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเป็นที่ระลึกเนื่อง ในวาระมงคลกึ่งพุทธกาล พุทธศตวรรษ 2500 ก่อสร้างแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์ในปลายปี พ.ศ.2501 เดือนสิงหาคม ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมแนวผสมผสานที่งดงามตามแบบอีสาน คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่สำคัญของวัดพระธาตุหนองบัว และนอกเหนือจากเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ภายในวัดยังมีพระวิหารที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2500 และเพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ภายในเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งบรรจุไว้ในพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์องค์จริง มีลักษณะเป็นองค์สี่เหลี่ยม-
ลงรักปิดทอง ศิลปะอินเดียแบบปาละ สลักลายเป็นเรื่องพระเจ้า 500 ชาติในกรอบสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถว คั่นแถวด้วยลายกลีบบัว ในอดีตพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์องค์เดิมมีขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร
สูงประมาณ 17 เมตร ต่อมามีการสร้างเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิม ขนาดฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร สูง 56 เมตร มีขนาดใหญ่กว่าเจดีย์องค์เดิมมาก เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2512 และรอบพระธาตุเจดีย์องค์จริงยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ทั้งสี่ด้านวิหาร สร้างเลียนแบบรูปทรงมาจากปรินิพพานวิหาร เมืองกุสินารา รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ลักษณะสร้างเป็นอาคารตรีมุข คือมีหลังคายื่นออกไปเป็นสามด้าน หลังคารูปร่างโค้งมน มีระเบียงพาไลโดยรอบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธไสยาสน์ในซุ้มตรีมุข เพดานโค้งด้านบนเขียนรูปเทวดาดั้นเมฆพนมมือบนพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปดาว ส่วนล่างเขียนจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ เสา พื้น และผนังบุหินแกรนิต สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี
การเดินทางมายังวัดพระธาตุหนองบัวโดยรถยนต์ส่วนตัวสามารถขับจากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปตามถนนชยางกูรทางไปจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกจากถนนชยางกูรให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนธรรมวิถี
ประมาณ 500 เมตร จะเห็นวัดอยู่ทางขวามือ ทางวัดเปิดให้เข้าตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 19.00 น. เป็นประจำทุกวัน
วัดพระธาตุหนองบัวเป็นวัดสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี มีอายุเก่าแก่ และมีสถาปัตยกรรมแนวผสมผสาน ตามแบบอีสานที่งดงาม ภายในวัดมีพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ที่ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ให้ได้เข้าไปกราบไหว้สักการะบูชา และเยี่ยมชมความงดงามของพระธาตุเจดีย์ อีกทั้งยังมีวิหารที่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ผ่านจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อไร ก็อย่าลืมแวะมาชมความงามของวัดพระธาตุหนองบัวได้
ที่อยู่ ธรรมวิถี ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000

 

3.วัดทุ่งศรีเมือง

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ในเขตกลางใจตัวเมืองอุบลฯ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมอันงดงามมากมายเริ่มต้นกันด้วย “หอไตรกลางน้ำ”
หอพระไตรปิฏกที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างศิลปะของไทย ลาว และพม่า นั่นคือ ตัวอาคารเป็นแบบเรือนไทยภาคกลาง ด้วยลักษณะเรือนยกพื้นสูง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ มีเครื่องสับฝาแบบฝาปะกน
ภายในมีตู้เก็บพระธรรมลงรักปิดทอง บริเวณหลังคาเป็นทรงจั่วด้วยศิลปะไทยผสมพม่า คล้ายสถาปัตยกรรมแบบเชียงรุ้ง มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงศ์ ส่วนบนของหลังคาเป็นแบบ 2 ชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบรรณทั้ง 2 ด้านนั้นเป็นศิลปะแบบลาว บริเวณปะกนด้านล่างมีลวดลายแกะสลักเป็นรูปสัตว์ประจำราศีต่างๆ รวมถึงทวยไม้ค้ำยันชายคาซึ่งสลักเป็นรูปเทพพนมที่บริเวณด้านหน้าประตู 2 ตัว นอกนั้นเป็นรูปพญานาคโดยรอบ หอไตรหลังนี้จึงจัดได้ว่าเป็นหอไตรที่สวยงามและสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ที่สำคัญหอไตรกลางน้ำหลังนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี อีกด้วย
ที่อยู่ : 95 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

GPS : 15.229869, 104.861477

4.วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)

วัดมหาวนาราม ชาวบ้านนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "วัดป่าใหญ่" เป็นวัดเก่าแก่และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอบุลฯ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน ตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองอุบลฯ ในพ.ศ.2322
ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานนะเป็นวัดและถือเป็น
วัดประจำเมืองแห่งที่ 2 ให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสะพัง
ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียงดังปรากฏหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินแปลง
ระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับ พ.ศ.2350 โดยมีพระราชครูศรี สัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
และเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปลง" หรือพระเจ้าใหญ่อินแปลงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมหาวนาราม
ปูชนียวัตถุ ที่สำคัญของวัดนี้คือพระเจ้าใหญ่อินแปลง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตัก กว้างประมาณ3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี5 เมตร
ในวันเพ็ญเดือน5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปีจะมีการทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก
และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลงซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

ที่อยู่:ถนน หลวง ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000

5.วัดถ้ำคูหาสวรรค์

พระเจดีย์ยอดสีทอง ชื่อว่า พระธรรม เจดีย์ศรีไตรภูมิ โดยมียอดใหญ่ 1 ยอดตรงกลางล้อมรอบด้วยยอดเล็กๆ อีก 8 ยอด กิ่งไม้ใหญ่โดยรอบบริเวณมีกล้วยไม้ขึ้นอยู่บริเวณลำต้น -โบสถ์สีขาวหลังใหญ่มีลายกนก คล้ายกับวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย -จุดชมวิวลำน้ำโขงที่ทอดตัวเข้าสู่ประเทศลาว หลังจากที่ไหลผ่านเป็นเส้นชายแดนระหว่างไทย-ลาว และเป็นจุดสุดท้ายที่น้ำโขงจะไหลผ่านประเทศไทย 5.สักการะหลวงปู่คำคนิง จุลมณี มรณภาพไปแล้วแต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย
ปัจจุบันวัดถ้ำคูหาสวรรค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยนักท่องเที่ยวมากราบไหว้สังขารหลวงปู่คำคนิง จุลมณี ที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านแล้ว ยังคงถือโอกาสชมทิวทัศน์แม่น้ำโขงและแม่น้ำสองสี ตลอดจนทิวทัศน์ของฝั่งประเทศตรงข้ามได้อย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งของวัดตั้งอยู่บนที่ราบสูงริมฝั่งแม่น้ำโขง ทำให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลไหลรวมกัน กลายเป็นแม่น้ำสองสี อย่างสวยงาม รวมทั้งทิวทัศน์ตัวอำเภอโขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ระยะ 80 กม. บนเส้นทางหมายเลข 2222 อุบล-โขงเจียม และเป็นศูนย์กลางใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างน้ำตกสร้อยสวรรค์ -ผาแต้ม แม่น้ำสองสี แก่งตะนะ และด่านชายแดนช่องเม็ก

ที่อยู่ ตำบล โขงเจียม อำเภอ โขงเจียม อุบลราชธานี 34220

6.วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "วัดสุปัฏน์" พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดธรรมยุตินิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนาม วัดจากพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติ
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง วัดสุปัฏน์ขึ้นมาใน ปี พ.ศ.2396 ซึ่งสร้างในสมัยพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยคำว่า "วัดสุปัฏนาราม" นั้นมีความหมาย 2 นัย คือหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเพื่อเป็นท่าเรืออย่างดี เพราะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล สะดวกต่อการเดินทางและการบิณฑบาตรทางน้ำ หมายถึง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศาสนสถานเปรียบดังท่าเรือที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้และใน ปี พ.ศ.2478สมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่สมกับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ว่า "วัดสุปัฏนารามวรวิหาร"
พระพุทธรูปที่สำคัญ
พระสัพพัญญูเจ้า
พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง (พระพุทธรูปหนึ่งในนพรัตน์หรือแก้วเก้าประการ)
ศาสนสถานที่สำคัญ
พระอุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่าง 3 ชนชาติ คือส่วนหลังคา
เป็นศิลปะแบบไทยส่วนกลางของตัวพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบเยอรมันส่วนฐานของพระอุโบสถ
เป็นศิลปะแบบขอมโบราณ
ที่อยู่ ถนน สุปัฏน์ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000

7.วัดป่าปากโดม

วัดปากโดม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดป่าปากโดม ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ในเขต อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
อยู่บริเวณลำโดม ที่มีแม่น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ แล้วไหลออกสู่แม่น้ำโขง จึงเป็นชื่อที่มาของวัด รวมทั้งการสร้างรูปปั้นของพญาทะนะมูลนาคราช ไว้ยังบริเวณปากโดมนี้ด้วย จึงทำให้มีนักท่องเที่ยว มากราบไหว้ และก็ทำบุญกันมากมาย “พญาทะนะมูลนาคราช” เป็นจอมนาคาผู้ยิ่งใหญ่ แห่งลุ่มแม่น้ำมูล หากพูดถึงพญานาคราช ผู้เป็นใหญ่ ภาคอีสานตอนบนต้องพญาศรีสุทโธหากพูดถึงพญานาคราช ผู้เป็นใหญ่ ภาคอีสานตอนล่าง ต้องเป็นพญานาคองค์นี้ ผู้เปี่ยมบารมี และตบะญาณแก่กล้า ผู้ปกครองวังบาดาลแถบแม้น้ำมูลทั้งหมดนั่นก็คือ “พญาทะนะมูลนาคราช”
พญานาคในตระกูลเอราปถ ซึ่งวังบาดาลของท่านอยู่บริเวณ วัดป่าปากโดม อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
พญาทะนะมูลนาคราช องค์นี้ถือว่าเป็นนาคกษัตริย์ผู้มากด้วยกองทัพไพร่พลพญานาคที่ยิ่งใหญ่มาก
และทรงมหิทธิฤทธิ์ที่จะหาพญานาคใดมาต่อกรด้วยได้ และได้เคยสร้างวีรกรรมถล่มศัตรูที่หนองหารหลวง
จนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว ด้วยพละกำลังอันมหาศาล และทิพยมนตราอันเป็นเลิศ ทำให้พญาทะนะทูลได้เป็นใหญ่ในภาคอีสานตอนล่าง พญาทะนะมูลนาคราช ไม่ใช่แต่เป็นยอดพญานาคนักรบ เท่านั้น แต่ยังเป็นยอดแห่งนักปฎิบัติธรรมด้วย ท่านได้บำเพ็ญบารมี ณ แม่น้ำมูลนี้มาอย่างยาวนาน และมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
ลักษณะเด่น-ใกล้บริเวณลำโดม – รูปปั้นพญาทะนะมูลนาคราช
ที่อยู่ วัดป่าปากโดม ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

 

 


Free Web Hosting